คำอันตราย "ป้อคิงหยัง" และ "สักกำบ๋อ"

                   
                     

คลิปนี้เป็นคลิปเก่าที่ดังมากในโลกโซเชี่ยลของ VRZO ในคลิปเหตุการณ์เกิดขึ้นที่เชียงใหม่ โดยมีการบอกให้พูดคำคำหนึ่งออกมา แล้วหลอกให้เข้าใจว่าเป็นอีกคำหนึ่ง ซึ่งคำๆนั้นคือ

"ป้อคิงหยัง" ซึ่งมีความหมายประมาณว่า พ่อมึงเหรอ

ส่วน "สักกำบ๋อ" แปลว่า ต่อยกับกูมั๊ย

ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไรเิชิญชมในคลิปได้เลย ถ้ามีโอกาสมาเชียงใหม่แล้วอย่าเผลอไปพูดกับใครเข้าล่ะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

ม่อนแจ่ม อีกหนึ่งสถานที่ที่ไม่ควรพลาด


ถ้ามีโอกาสได้ขึ้นมาเที่ยวที่เชียงใหม่ แล้วอยากสัมผัสบรรยากาสของยอดดอย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกลเดินทางเป็นวัน เพราะใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น และสถานที่ที่ว่านั่นก็คือ "ดอยม่อนแจ่ม" นั่นเอง

ม่อนแจ่ม ตั้งอยู่บนสันเขาบริเวณหมู่บ้านม้งหนองหอย อำเภอแม่ริม อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 40 นาที  เดิมที่บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่ากิ่วเสือเป็นป่ารกร้าง ต่อมาชาวบ้านเข้ามาแผ้วถางและปลูกผิ่น จนในท้ายที่สุดโครงการหลวงมาขอซื้อพื้นที่เข้าโครงการหลวงหนองหอย   เมื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลวง คุณแจ่ม-แจ่มจรัส สุชีวะ หลานตาของ ม.จ. ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงบริเวณม่อนแจ่มให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดย เฉพาะในลักษณะของม่อนแจ่มแค้มปิ้งรีสอร์ท ซึ่งม่อนแจ่มเพิ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือน พ.ย. 2552 ม่อนแจ่มมีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีหมอกยามเช้า ช่วงที่เหมาะสำหรับท่องเที่ยวคือ เดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์  มีจุดชมวิวสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ทิวภูเขาสลับกันไกลสุดลูกหูลูกตา อีกด้านเป็นแปลงปลูกพืชและไม้เมืองหนาวของโครงการหลวง
ยอดเขาทางทิศตะวันออกมีจุดชมวิวม่อนล่อง เหมาะสำหรับชมทิวทัศน์ของพื้นที่โครงการหลวง เป็นจุดชมทะเลหมอกบนหน้าผา มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล ชมพรรณไม้และดอกไม้ป่า เส้นทางขึ้นไม่ได้ลาดยางหรือเทปูน เป็นทางดินลูกรัง ควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
ทางด้านทิศใต้เป็นไหล่เขามองลงไปจะเห็นหมู่บ้านม้งหนองหอย และพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยโดยรอบ ซึ่งเป็นแปลงปลูกผักและวิจัยพืชผักเมืองหนาว เช่น อาติโช๊ค แปลงสมุนไพรเลมอนทาร์ม มิ้น คาร์โมมายด์ โรสแมรี่ ไม้ผล เช่น พลัม องุ่นไร้เมล็ด สตรอเบอรี่พันธุ์ 80 แปลงผักไฮโดรโพนิค การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น โอ้คลีฟแดง และผักตระกูลสลัด มะเขือเทศดอยคำ ฯลฯ


จุด Landmark ของม่อนแจ่ม ที่ใครมาแล้วไม่ถ่ายรูปคู่กับรถฌครงการหลวงแล้วล่ะก็ ถือว่ามาไม่ถึงม่อนแจ่มนะครับ เพราะฉะนั้นหากมีโฮกาสมาที่ม่อนแจ่ม แล้วห้ามพลาดกับการถ่ายรูปจุดนี้เด็กขาด

เวียงกุมกาม สถานที่สำคัญที่ถูกลืม




เวียงกุมกาม  เป็นเมืองโบราณ ที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ภายในเวียงกุมกามประกอบด้วยวัดสำคัญมากกว่า 40 แห่ง ซุ่งถูกขุดค้นพบโดยบังเอิญ

เวียงกุมกามได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ถูกลืม เนื่องจากหลังจากน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2101 - 2317 ทำใหเเมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้น้ำ และถูกตะกอนดินทับถมจนยากที่จะบูรณะ และทำให้ถูกลืมเลือนไปในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง (ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่าง ๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ



จากการสำรวจพบว่ามีอยู่มากกว่า 40 แห่ง ทั้งที่เป็น ซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์โบราณสถานที่สำคัญ ได้ แก่วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำและซากเจดีย์วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว วัดอีค่างซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนี้ มีทั้งแบบรุ่นเก่าและสมัยเชียงใหม่ รุ่งเรืองปะปนกันไป โดยเฉพาะที่วัดธาตุขาวนั้น มีเรื่องเล่าของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย พระมเหสีของพญามังราย พระนางได้มาบวชชีที่นี่ แล้วก็ได้สิ้นพระชนม์ที่นี่ด้วย สาเหตุก็คือพญามังรายได้มีพระมเหสีพระองค์ใหม่ เมื่อครั้งยกทัพไปตีพม่า พม่ายอมสวามิภักดิ์และถวายพระธิดาปายโคมาเป็นมเหสี แต่สิ่งนี้ทำให้พระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทรงเสียพระทัยมาก เนื่องจาก พระนาง และ พญามังราย ได้เคยสาบานกันในขณะที่พำนักอยู่ในเมืองเชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียงแค่พระองค์เดียว พระนางจึงเสียพระทัยมาก จึงตัดสินใจไปบวชชี และ ยังมีเรื่องอีกว่า สาเหตุที่พญามังรายสวรรคตอสนีบาตในระหว่างที่เสด็จไปตลาดนั้น ก็เพราะสาเหตุนี้

เชียงใหม่ FC สโมสรฟุตบอลของคนเชียงใหม่

สโมสรฟุตบอลประจำจังหวัดเชียงใหม่ นั่นก็คือ "เชียงใหม่ FC" ทีมฟุตบอลที่มีลีลาการเล่นเร้าใจ มีสนามกีฬาสมโภช 700 ปี เป็นสนามเหย้า และทุกครั้งที่มีการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการแข่งในบ้าน หรือเป็นทีมเยือนก็ตาม ก็จะมีแฟนบอลตามไปเชียรฺ์อย่างล้นหลาม และสุดท้ายไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แฟนบอลก็จะคอยตามไปให้กำลังใจอย่างไม่ขาดสายอย่างแน่นอน

 
ประวัติสโมสรฟุตบอลเชียงใหม (Chiangmai FC)
      สโมสร "ฟุตบอลเชียงใหม่" ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลจังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2542 ในยุคของฟุตบอลอาชีพนำร่อง โดยเริ่มต้นเล่นฟุตบอล "โปรวินเชียลลีก" ตั้งแต่ยุก่อตั้ง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ ตามที่ กกท. ได้เตรียมไว้ให้กับทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยใช้ชื่อว่า สโมสรเชียงใหม่คาริเบลอ ในยุคนั้น จะมีนักเตะชื่อดังหลายราย ไม่ว่าจะเป็น ศุภกิจ จินะใจ , บัณฑิต เพรชอำไพ , พีรยุทธ ทองศรี ร่วมทัพ โดยอันดับที่ดีที่สุดคือ อันดับที่ 4 ในโปรลีก โดยการคุมทัพโดย น้าติ๊ก สมชาติ ยิ้มศิริ

      จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้มีการวมโปรเฟสชั่นแนลลีกลีกกับฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกเข้ามาร่วมกัน ทางสโมสรฟุตบอลของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้เข้าร่วมในการแข่งขัน ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 2 โดยภายใต้การนำของ เสี่ยตั่ว เจ้าของร้านวนัสนันท์ ของฝากจากเชียงใหม่ โดยได้ใช้ชื่อ สโมสรเชียงใหม่เอฟซี เข้าร่วมการแข่งขัน และปี 2551 ทาง AFC ได้ลงมาดูแลเรื่องการจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคล ทางฝ่ายบริหารจึงเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น เชียงใหม่ยูไนเต็ด เข้าร่วมการแข่งขันเรื่อยมา
    ในปี 2552 ได้มีการสร้างลีกภูมิภาค ซึ่งเป็นลีก D2 ที่รองรับ การแข่งขันในแต่ละภูมิภาค เชียงใหม่ ได้ส่งทีมเข้าร่วมในนามของเชียงใหม่ยูไนเต็ด แต่เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล จบด้วยอันดับที่อยู่ท้ายของตารางการแข่งขัน

 ในปี 2553 นั้นทางสมาคมกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ได้ประชุมและได้ตกลงว่าจะทำการส่งแข่งขันเอง โดยใช้ชื่อว่า เชียงใหม่ เอฟซี มี ฉายาว่า "พยัคฆ์ล้านนา" ซึ่งผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรคือ ดร.อุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มาที่ไปของการก่อตั้ง ทีมเชียงใหม่ เอฟซี ขึ้นมานั้น เกิดจาก เมื่อวันที่ 1 ต.ค.52 คณะกรรมการผู้บริหารสมาคมกีฬา จ.เชียงใหม่ ได้มีการจัดประชุมในวาระ เรื่องการส่งทีมฟุตบอลเข้าแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปี 53 ซึ่งที่ประชุม มีมติให้มีการจดทะเบียนสโมสรฟุตบอลในจังหวัดขึ้นมาใหม่ ภายใต้ชื่อว่า "บริษัท ไทเกอร์ เชียงใหม่" เป็นทีมสโมสรเชียงใหม่ เอฟซี เนื่องจาก เดิมทีเป็นทีมฟุตบอลสโมสรเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันในรายการนี้ แต่หลังจบฤดูกาลเกิดปัญหาหลายอย่างภายในทีม และทีมเชียงใหม่ เอฟซี จึงได้สิทธิ์ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาคดิวิชัน 2 โซนภาคเหนือฤดูกาล 2010 ในที่สุด
      ปี 2553 นี้เอง เชียงใหม่เอฟซี ก็กลับมาครองความยิ่งใหญ่ ด้วยการคว้าอันดับ 1 ลีกภูมิภาคโซนภาคเหนือ และอันดับที่ 3 รอบแชมป์เปี้ยนลีกรอบสุดท้าย สามารถคว้าตั๋วเพื่อขึ้นเล่นขึ้นไปเล่น ดิวัชั่น 1 ในฤดูกาล 2554 แต่ในฤดูกาล 2554 เชียงใหม่เอฟซี เมื่อจบฤดูกาลในอันดับที่ 16 ของตาราง D1 ทำให้ในฤดูกาล 2555 ต้องลดชั้นลงมาเล่น ลีกภูมิภาคโซนภาคเหนือ
      และในปี 2555 เชียงใหม่เอฟซีทำอันดับขึ้นนำ ในหัวตารางลีก D2 โซนเหนืออีกครั้ง และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 1 ของภาคเหนือ เป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์ได้ 2 สมัย แต่ในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ทีมพลาดท่าสะดุดในช่วงต้น ทำให้ทำแต้มจบเป็นอันดับที่ 3 ไม่สามารถขึ้นชั้นไปยัง D1 และ ฤดูกาล 2556 เชียงใหม่เอฟซี ก็จะลงทำการแข่งขันใน D2 โซนเหนือเพื่อก้าวไปยังเป้าหมายอีกครั้ง

ข้อมูลจาก : http://www.chiangmaifc.com/2013/main.php?op=5


แกงฮังเล อาหารพื้นบ้านของเชียงใหม่


อาหารพื้นเมืองที่ชาวเหนือทุกบ้านจะต้องทำเป็น มีส่วนผสมของหมู 3 ชั้น ผสมกับเครื่องเทศ รสชาดเข้มข้นแต่ไม่เผ็ด  เนื้อหมูจะถูกเคี่ยวจนเปื่อย ใส่กระเทียม ขิงซอย และผงกระหรี่ น้ำแกงน้ันคือน้ำมันที่ออกมาจากหมู 3 ชั้น อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ต้องการจะไดเอ็ต และหากมีโอกาสขึ้นมาแอ่วเชียงใหม่แล้วล่ะก็ จานนี้ไม่ควรพลาด แกงฮังเลร้อนๆกินกับข้าวเหนียวนิ่มๆปั้นแล้วจิ้มน้ำแกง กินหมูเป็นชิ้นๆลำขนาดเน้อ

สูตรอาหารแกงฮังเล


ระยะเวลา 1ชั่วโมง 40 นาที
สำหรับ 3-4 คน

เครื่องปรุงแกงฮังเล

1. เนื้อหมูสันนอก 1/2 กิโลกรัม
2. หมูสามชั้น 1/2 กิโลกรัม
3. ผงแกงฮังเล หรือผงกระหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ
4. ขิงสด (ซอยเส้นบาง) 1/4 ถ้วย
5. กระเทียม (ปอกเปลือก) 1/4 ถ้วย
6. น้ำมะขามเปียก 1/4 ช้อนโต๊ะ
7. ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
 
เครื่องแกง
 
9. พริกแห้ง (แกะเม็ดแช่น้ำพอนิ่ม สงน้ำ) 8 เม็ด
10. ข่า (หั่นละเอียด) 1 ช้อนชา
11. ตะไคร้ (ซอย) 1 ช้อนโต๊ะ
12. กระเทียม (หั่นชิ้นเล็ก) 1 ช้อนโต๊ะ
13. หอมแดง (หั่นชิ้นเล็ก) 1 ช้อนโต๊ะ
14. กะปิ 1 ช้อนชา
15. เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำแกงฮังเล

1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด พักไว้
2. หั่นหมูสันนอก และสามชั้นสี่เหลี่ยม 2x2นิ้ว เคล้าด้วยซีอิ๊วดำ ใส่เครื่องแกงเคล้าหมักไว้ 1 ชั่วโมง
3. ใส่หมูที่หมักไว้ในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆ ผัดให้หมูพอตึงตัว ใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝาตั้งไฟเคี่ยวไปเรื่อยๆ
    ใส่ขิงซอย กระเทียม ใส่ผงแกงฮังเล ใช้ไฟอ่อนเคี่ยวจนนุ่มและน้ำงวด ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก 
     เกลือ และน้ำตาลเล็กน้อย ชิมให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มเติมเกลือได้

วอร์มอัพ คาเฟ่


     
         ถ้าพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวยามราตรีอันดับต้นๆของเมืองเชียงใหม่ก็คงอดที่จะพูดถึง "วอร์มอัพ คาเฟ่" ไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นคนเชียงใหม่เอง หรือแขกต่างบ้านต่างเมือง หากมาเยือนถึงถิ่นเชียงใหม่แล้ว ไม่มาแอ๋วที่วอร์มอัพแล้วล่ะก็ ถือว่ามาไม่ถึงเชียงใหม่เลยทีเดียวนะเออ
        วอร์มอัพคาเฟ่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวของเพื่อนๆที่มีใจรักในการเที่ยวราตรี จึงได้ร่วมกันลงขันร่วมหุ้นกันเปิดร้านในปี 1999 จากนั้นชื่อของ "วอร์มอัพ คาเฟ่" ก็เป็นที่รู้จักของคนทั้งเชียงใหม่ ถึงแม้จะผ่านวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆมากมาย แต่วอร์มอัพ กลับยืนหยัดได้อย่างแข็งแรง ในขณะที่ร้านอื่นๆที่มาจากกรุงเทพแห่กันมาโกยเงินคนเชียงใหม่ แต่กลับต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย อาทิเช่นร้าน "สองสลึง" ที่ดังมากในทองหล่อ แต่กลับต้องมาแป๊กสนิทที่เชียงใหม่
          วอร์มอัพ เป็นแหล่งรวมของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็ก ที่มาแดนซ์เพื่อไล่ความเครียดจากเรื่องเรียน เรื่องความรัก ไล่ไปถึงรุ่นใหญ่ที่ไปนั่งคุยกัน ฟังเพลง ส่องหญิง รวมไปถึงดาราที่มาเที่ยวเชียงใหม่ และต้องการมาเช็คเรทติ้งของตนเอง ถ้าคุณไปเที่ยววอร์มอัพ รับรองว่าคุณจะได้มีโอกาสได้เจอดาราตัวเป็นๆอย่างใกล้ชิดอย่างแน่นอน
          ถ้าคุณมีโอกาสที่ขึ้นมาเที่ยวที่เชียงใหม่แล้วล่ะก็ อย่าพลาดโอกาสที่จะมาสัมผัสกับบรรยากาสที่ยากที่จะอธิบายเป็นคำพูดได้หมด แล้วคุณจะรู้ว่าสวรรค์บนดินนั้นมีจริง

เสื้อม่อฮ่อม ชุดพื้นเมืองของชาวเชียงใหม่




เสื้อ "ม่อฮ่อม" เป็นเสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีคราม ดำ คอกลม ผ่าอก แขนยาวหรือแขนสั้น มีทั้งแบบที่ใช้กระดุมกลัดและที่ใช้ผ้าเย็บเป็นเชือกผูก เป็นเสื้อที่ชายชาวภาคเหนือสวมใส่กันเป็นปรกติในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันเสื้อม่อฮ่อมได้เปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบของเสื้อให้มีความสวยงามยิ่ง ขึ้นและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ เพราะสวมสบาย ทนทาน และราคาถูก บางครั้งบางคราวเสื้อม่อฮ่อมยังได้รับเกียรติให้เป็นเสื้อสำหรับใส่ในงาน เลี้ยงอาหารในโอกาสรับรองแขกต่างบ้านต่างเมืองด้วย
          ม่อฮ่อม เป็นคำภาษาถิ่นล้านนา โดยแท้จริงมิได้หมายถึงเสื้อ แต่หมายถึงสีของเสื้อที่เป็นสีครามอมดำ ปัจจุบันถ้าเอ่ยว่า ม่อฮ่อม จะหมายถึงเสื้อดังลักษณะที่กล่าวไว้ข้างต้น เสื้อชนิดนี้มิใช่เสื้อสำหรับผู้ชายชาวล้านนาสวมใส่มาแต่เดิม แต่เสื้อที่ชายชาวล้านนานิยม คือเสื้อผ้าฝ้ายสีขาวแบบที่เรียกว่า เสื้อห้าดูก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตั๋วก้อมแอวลอย เสื้อม่อฮ่อมเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเริ่มที่จังหวัดแพร่ เนื่องจากพวกลาวพวนที่อพยพเข้าไปอยู่ที่อำเภอเมืองแพร่ได้เย็บเสื้อผ้าฝ้าย ย้อมสีครามดำออกจำหน่ายแก่คนงานและลูกจ้างทำป่าไม้ขึ้นก่อน จึงได้รับความนิยมซื้อสวมใส่กันแพร่หลาย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้จัดงานเลี้ยงอาหารแบบขันโตกเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์และกงสุลอเมริกัน ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้กำหนดให้ผู้มาร่วมงานสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม ย้อมสีคราม คาดผ้าขาวม้า หลังจากงานนี้จึงมีผู้นิยมใช้เสื้อม่อฮอมกันแพร่หลายยิ่งขึ้น คนทั่วไปจึงคิดว่าเป็นเสื้อประเพณีนิยมสำหรับชายชาวล้านนา
          ใน คราวที่ราชบัณฑิตยสถานได้ปรับปรุงพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ มาเป็นพจนานุกรมฯ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ นั้น คณะกรรมการชุดปรับปรุงพจนานุกรม ได้เห็นควรให้เก็บคำนี้เพิ่มเติมเข้าไป และเก็บในรูปที่เขียนว่า ม่อฮ่อม ตามที่นิยมใช้เขียนกันโดยทั่วไป ต่อมามีนักภาษาที่ศึกษาทางด้านภาษาถิ่นพายัพได้แสดงความคิดเห็นและแสดงผลการ ศึกษาเทียบเสียงคำไทยภาคเหนือกับคำไทยกรุงเทพฯ แล้ว เห็นว่าคำนี้ควรเขียนว่า หม้อห้อม จึงจะถูกต้อง คณะกรรมการชำระพจนานุกรมจึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณาหาข้อยุติ ในการพิจารณา คณะกรรมการฯ มีความเห็นแตกต่างกันคือ ที่ เห็นว่าควรเขียน "ม่อฮ่อม" อย่างที่คนทั่วไปใช้ เพราะ ม่อฮ่อม เป็นคำ ๒ คำที่ใช้ร่วมกันคือ มอ หรือ ม่อ มีความหมายว่า "สีมืด สีคราม" หลักการใช้สีเบญจรงค์ตามขนบนิยมของชาวไทยโบราณในภาคกลาง เรียกว่า มอ หรือสีมอ เช่น มอคราม หรือสีครามม่อ หมายถึง ครามอมดำ ชาวล้านนาออกเสียง มอ เป็น ม่อ บางคนจึงเข้าใจผิด พยายามลากคำนี้ให้เป็น "หม้อ" โดยหมายว่าเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำสีย้อม ทั้งนี้เพราะลืมคำเรียกสีมอซึ่งเป็นคำภาษาไทยเดิมไป ส่วนคำ "ฮ่อม" หมายถึงคราม คือสีครามซึ่งไม่ใช่สีวิทยาศาสตร์ แต่เป็นสีครามที่ได้จากต้นฮ่อม หรือห้อม ซึ่งเป็นไม้ล้มลุก ต้นเป็นพุ่ม ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baphicacanthus cusia  Brem. ในวงศ์  Acanthaceae โดย ใช้ใบและต้นมาโขลกแล้วแช่น้ำซาวข้าว ทิ้งไว้ประมาณ ๔-๕ วัน จึงรินเอาแต่น้ำสีครามมาต้ม ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยแล้วนำด้ายฝ้ายมาย้อมน้ำต้มสีนี้ ๒-๓ ครั้ง จนด้ายออกสีเข้มตามต้องการ ในพจนานุกรมภาษาภาคเหนือจัดทำโดย จ.จ.ส. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เก็บคำ ฮ่อม หมายถึง สีคราม และหนังสือหลักภาษาไทยพายัพ ของพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ เก็บคำนี้ไว้เช่นกันแต่เขียนในรูป " ห้อม" ดังนั้น คำนี้ควรเขียนว่า ม่อฮ่อม หรือ ม่อห้อม แต่ไม่ควรเขียนว่า หม้อห้อม เพราะ รูปคำ " หม้อ" จะทำให้ความหมายของคำนี้คลาดเคลื่อนไปเป็นผ้าที่ย้อมในหม้อ มิใช่ผ้าที่ย้อมเป็นสีมอหรือสีครามตามความเป็นจริง และไม่ว่าจะเขียนเป็นม่อฮ่อม หรือ หม้อห้อม ในภาษาภาคกลาง (ภาษาไทยกรุงเทพฯ) จะออกเสียงวรรณยุกต์โทเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงการเขียนตัวสะกดใหม่จะทำให้สับสนได้

สงกรานต์เชียงใหม่


      
สงกรานต์ที่เชียงใหม่นั้น เป็น 1 ในสถานที่ที่คนอยากมาเที่ยวมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยเลยทีเดียว เนื่องจากความสนุกสนานที่ขึ้นชื่อ และทำเลในการเล่นน้ำของเชียงใหม่ ที่นิยมเล่นกันบริเวณคูเมือง ที่มีคูน้ำให้เล่นได้ตลอดทั้งวัน ไล่ไปจนถึงดึกถึงดื่นกันเลยทีเดียว
       และเหนือสิ่งอื่นใดนั้น สงกรานต์เชียงใหม่นั้น อุดมไปด้วยบรรดวัยรุ่นหนุ่มสาวหน้าตาดี ที่หลั่งไหลมาจากทั่วทั้งประเทศ และรวมไปถึงสาวเชียงใหม่ ที่ขึ้นชื่อเรื่องของความขาวใส และสวยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นศูนย์รวมของคนหน้าตาดีเลยก็ว่าได้ ดังนั้นผู้ชายก็อยากมาดูคนสวย ผู้หญิงก็อยากมาดูผู้ชายหล่อ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ผู้คนจะหลั่งไหลกันมาอย่างไม่ขาดสาย
      เทศกาลสงกรานต์เชียงใหม่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประเวณีปี๋ใหม่เมือง" ในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี จะมีการรดน้ำพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ โดยมีการแห่รอบเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสสรงน้ำพระ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับตนเอง และยังถือว่าเป็นการเริ่มปีใหม่ และชีวิตใหม่ที่จะพบเจอแต่เรื่องดีๆและสิ่งดีๆที่จะเข้ามาในชีวิต

ข้าวซอย

ถ้าใครมาถึงเชียงใหม่แล้วไม่ได้กิน "ข้าวซอย" แล้วล่ะก็ เปรียบเสมือนมาไม่ถึงเชียงใหม่ ซึ่งข้าวซอยเชียงใหม่ที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยนั้นมีหลายร้านมาก แต่วันนี้ขอพูดรวมๆก่อนว่าข้อมูลของข้าวซอยที่เราๆท่านๆรู้จักกันนั้น เป็นอย่างไรบ้าง และอะไรที่ทำให้ข้าวซอยเชียงใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ "A Must" หรือเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้เมื่อมาถึงเชียงใหม่ 


ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ" เป็นอาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ในตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน บางแห่งอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ อาหารจานนี้มักไม่ค่อยมีจำหน่ายในร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะพบบ่อยก็แต่ทางภาคเหนือของไทย 

ที่มาของข้าวซอย
ข้าวซอยมีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิมที่อพยพมาอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว แต่เดิมข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เรียกว่าข้าวซอยน้ำใส ต่อมาได้มีการเพิ่มกะทิเข้าไปจนเป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นลักษณะข้าวซอยที่รู้จักกันในปัจจุบัน ข้าวซอยจึงเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างหว่างอาหารจีน อาหารตะวันออกกลางและอาหารเอเชียอาคเนย์

 ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ยินดีต้อนฮับสู่เมืองเจียงใหม่





"ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์"

นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือเวียงพิงค์ ก่อตั้งโดยพญามังรายมหาราชปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายเมื่อพ.ศ. 1839 ราชวงศ์นี้ได้ปกครองต่อมาอีก 200 ปี เมืองนี้จึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในปีพ.ศ. 2101 ต่อมาในปีพ.ศ. 2317 พระเจ้าตากสินมหาราชมาขับไล่พม่าจนพ่ายแพ้ไป เชียงใหม่จึงรวมเข้าในอาณาจักรสยามนับแต่นั้นมา ต่อมาในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช และเมื่อมีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเชียงใหม่เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลพายัพ และเป็นจังหวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเชียงใหม่นับเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของภาคเหนือ และในขณะเดียวกันก็ยังเป็นเมืองที่รวบรวมศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนาไทยเอาไว้ โดยทั่วไปแล้วพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะและภูเขา มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง 


ตึงหมดนี้กือก้อมูลของจังหวั้ด "เจียงใหม่" จังหวั้ดที่กุผู้กุค๋นต่างเข้าใจ๋กันผิดมาเวลาว่า เป็นจังหวั้ดเหนือสุดของประเทศไทย แต่ความจริงแล้ว หาได้เป็นจะอั้น แต่ "เจียงใหม่" นั้นเป็นจังหวั้ดที่กึ้นชื่อเรื่องของตี้แอ๋ว และตี้กิ๋น และตี้สำคัญเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอยากมาแอ่วตี้นี่ 


ส่วนนี่ก่อคำขวัญที่อ้ายโน๊ต อุดม ป้อจายที่หลงมนต์เสน่ห์ของเมืองเจียงใหม่ และมาลงหลักปักฐาน ซื้อบ้านซื้อจองอยู่แถวนิมมานเหมินทร์ แถมยังเปิดร้านไอติมขายอีกด้วย เจื้อว่าหลายๆคนน่าจะเคยผ่อกันแล้ว แต่บ่อเป็นหยัง ลองมาผ่อกันแฮมรอบเน้อ ม่วนขนาด

 
Design by Free WordPress Themes | Blogger Theme by Lasantha - Premium Blogger Templates | Affiliate Network Reviews