มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีนักศึกษาจากทั่วทั่วประเทศได้มีโอกาสที่จะมาเข้าเรียนที่นี่ ด้วยทำเลที่ตั้งที่มีดอยสุเทพเป็นแบ็คกราวน์ เพิ่มความงดงามให้กับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังเป็นอีกสถานที่ที่ภาพยนต์เรื่องเพื่อนสนิทกล่าวถึงด้วย แต่เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าไปถ่ายทำ จึงต้องไปใช้สถานที่ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ ถ่ายทำแทน ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ และเข้าใจว่าฉากในภาพยนต์ก็คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั่นเอง
|
ศาลาธรรม อีกจุด Landmark ของ ม.ช. |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคเป็นแห่ง
แรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ
อำเภอเมือง เชียงใหม่ ขนาบข้างด้วยถนนห้วยแก้ว และถนนสุเทพ
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 ก.ม. และมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่เศษ
เปิดทำการสอน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2507
ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคขึ้นแต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 การดำเนินงานจึงชะงักลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 รัฐบาลชุดจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาว่า "จะดำเนินการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูง" พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นว่า "น่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่" พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกชื่อมหาวิทยาลัยนี้ว่า "
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
|
"อ่างแก้ว" แหล่งพักผ่อนหย่อนใจของนักศึกษา
ประวัติของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย
ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา
อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี
มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ
บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
นับตั้งแต่มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค
โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2493
ในที่สุดการเรียกร้องก็สัมฤทธิ์ผลก่อให้เกิดความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่ง
แก่ชาวล้านนา
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น
โดยกำหนดให้เปิดสอนในปีการศึกษา 2507 และให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี
ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 81 ตอนที่ 7 ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2507
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 วันเปิดเรียนวันแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างเป็นทางการ
วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นรูปช้างชูคบเพลิงมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลี
ว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบนและคำว่า
“มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507” อยู่ด้านล่างตรงกลาง
ระหว่างข้อความทั้งสองนี้ มี “ดอกสัก” คั่นกลางปรากฏอยู่
ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีความหมายดังนี้
- ช้าง เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าสูงมากในภาคเหนือ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ
- การก้าวย่างของช้าง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ไม่หยุดยั้ง
- คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ
- รัศมี 8 แฉก หมายถึง คณะทั้ง 8 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พุทธสุภาษิต “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน
- ดอกสัก ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
ซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือ
ดอกสักเป็นดอกไม้ขนาดเล็กและอยู่ในพวงใหญ่ มีสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1
เซนติเมตร มีกลีบดอก 6 กลีบ
คณะที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีจำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน จำนวน
39,240 คน (ข้อมูล ณ วัน ที่ 15 มิถุนายน 2554) จำแนกตามระดับการศึกษา
ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
โดยมีคณะที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 20 คณะ 1 วิทยาลัย และ 1 บัณฑิตวิทยาลัย ได้แก่
-
-
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะวิจิตรศิลป์
- คณะสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะเกษตรศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์
- คณะเทคนิคการแพทย์
- คณะพยาบาลศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะการสื่อสารมวลชน
- คณะรัฐศาสตร์และรัฐศาสนศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
- และบัณฑิตวิทยาลัย
หลักสูตรในระดับปริญญาตรี มีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะทั้งหมดประมาณ
100 หลักสูตรโดยจะมีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ
หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง
และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม
โดยแต่ละคณะจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาในแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอน
|