ประตูท่าแพ
1 ใน 5 ประตูหัวเมืองชั้นในของเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเหลือเพียงแห่งเดียวที่เหลือบานประตูอยู่ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นที่นิยมทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีคนนิยมมาถ่ายรูปมากที่สุด
ประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์เชียงใหม่ เป็น 1 ในสถานที่ที่คนจากทั่วประเทศ และทั่วโลกอยากมาเล่นน้ำที่นี่มากที่สุด เพราะเป็นแหล่งรวมของวัยรุ่นหญิงชายหน้าตาดี ที่หลั่งไหลกันมาเล่นน้ำอย่างไม่ได้นัดหมาย ถ้ามีโอกาสมาเล่นน้ำสงกรานต์ที่เชียงใหม่สักครั้ง แล้วคุณจะติดใจ
ประเพณียี่เป็ง ของดีที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
ในงานบุญยี่
เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม
และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้
ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา
ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า
เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์
จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า
เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม
จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง
โคม
ลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง
เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2
เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง
และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง
คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 นั่นเอง
โคมลอย ที่คนท้องถิ่นล้านนาส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า ว่าว
สามารถแบ่งย่อยได้สองประเภท ได้แก่ โคมลอยกลางวัน (ว่าวโฮม-ว่าวควัน) กับ
โคมลอยกลางคืน (ว่าวไฟ) นอกจากนี้ยังมีโคมแขวน
ที่จัดเป็นโคมอีกชนิดเช่นกันเพียงแต่ใช้แขวนตามบ้านเรือนไม่ได้ใช้ลอยโดยโคม
ที่ใช้ลอยกลางวันนั้น จะใช้กระดาษที่มีสีสันจำนวนหลายสิบแผ่นในการทำ
เพื่อให้เห็นในระยะทางไกลแม้จะอยู่บนท้องฟ้า จะมีการตกแต่งด้วยการใส่หาง
หรือขณะที่ทำการปล่อยมักใส่ลูกเล่นต่างๆเข้าไปด้วย เช่น ใส่ประทัด ควันสี
เครื่องบินเล็ก ตุ๊กตากระโดดร่ม เป็นต้น
บางท้องที่นิยมใส่เงินลอยขึ้นไปอีกด้วย
วิธีการปล่อยจะต้องใช้การรมควันให้เต็มโคม เมื่อได้ที่แล้วจึงปล่อย
1. ปล่อยโคมลอยในตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยทำโคมด้วยกระดาษสี แล้วให้ลอยสู่ท้องฟ้าด้วยความร้อนคล้ายบอลลูน เพื่อปล่อยทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไป
2. ปล่อยโคมลอยในเวลากลางคืน เรียกว่า โคมไฟ โดยใช้ไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม
ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้แขวนปากโคม แล้วจุดไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า
เพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์
สำหรับการลอยโขมดหรือการลอยกระทงของล้านนา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือนยี่ เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า ลอยโขมดนั้น
เนื่องจากกระทงเมื่อจุดเทียนแล้วปล่อยลงน้ำ
จะมีแสงสะท้อนกับเงาน้ำวับแวมดูคล้ายแสงของผีโขมด ชาวล้านนาจะลอยกระทงเล็กๆ
กับครอบครัว เพื่อน
ฝูง ในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่ร่วมกันจัดทำ นิยมลอยในวันแรม 1 ค่ำ
กระทงเล็กของชาวเชียงใหม่ แต่เดิมใช้กาบมะพร้าว ที่มีลักษณะโค้งงอ
เหมือนเรือเป็นกระทง แล้วนำกระดาษแก้วมาตกแต่งเป็นรูปนกวางดอกไม้
และประทีบไว้ภายใน
ผู้ที่เดินทางมาร่วมในพิธีปล่อยโคมยี่เป็งนี้จะแต่งกายด้วยชุดสีขาว
คนที่มานิยมนุ่งขาวตามแบบฉบับชาวเหนือร่วมเวียนเทียนตามหลังเหล่าพระสงฆ์
แสงเทียนในมือของเหล่าอุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้นต่างร้อยรวมกันเป็นสายยาว
เหมือนสายน้ำที่ค่อย ๆ ไหลเอื่อยรอบบริเวณปะรำพิธี จาก
นั้นก็ได้เวลาจุดเชิงเทียน ซึ่งทางสำนักสงฆ์ ฯ
ได้นำเชิงเทียนมาปักให้แก่ผู้มาร่วมงาน เป็นพัน ๆ อัน
ก่อนที่เราจะจุดโคมก็พระสงฆ์ก็จะสวดให้พร นั่งสมาธิ อธิษฐานขอพร
และขอให้สิ่งร้าย ๆ ลอยไปกับโคมยี่เป็ง
วัดพระธาตุดอยคำ ของดีที่ถูกลืม
เชื่อว่าหลายคนที่มาเที่ยวเชียงใหม่ แล้วคงต้องมีโอกาสที่จะเวะเวียนมาเที่ยวชมที่ "สวนราชพฤกษ์" หรือที่เราเรียกติดปากว่า "พืชสวนโลก" นั่นเอง แต่ใครจะรู้ว่ามีอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีความสวยงามไม่แพ้กับดอยสุเทพเลยทีเดียว ที่สำคัญเดินทางสะดวกกว่าด้วยซ้ำ เพราะอยู่บริเวณด้านหลังของสวนราชพฤกษ์นั่นเอง และสถานที่ที่ผมกำลังพูดถึงนั้นก็คือ "วัดพระธาตุดอยคำ" นั่นเอง
วัดพระธาตุดอยคำสร้างในสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 1230 ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอยคำ"
พ.ศ. 2509 ขณะนั้นวัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่
ตำนาน
เทือกเขาถนนธงชัย ด้านทิศตะวันตกบนเทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเจดีย์สำคัญและเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ถึง 2 องค์พระเจดีย์ แต่ละแห่งถูกสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยหริภุญชัยและล้านนาตามลำดับ หนึ่งในนั้นคือพระธาตุดอยคำ อยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “พระธาตุดอยคำ” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ จิคำและตาเขียวมาก่อน ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ – ย่าแสะ” ปู่แสะย่าแสะมีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤๅษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ”จากตำนานหลายฉบับได้กล่าวว่า เทวดาได้นำพระเกศาธาตุที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแก่ปู่แสะและย่าแสะ นำขึ้นมาฝังและก่อสถูปไว้บนดอยแห่งนี้ และต่อมาในปี พ.ศ. 1230 เจ้ามหันตยศ และเจ้าอนันตยศ 2 พระโอรสแฝดของพระนางจามเทวี แห่งหริภุญชัยนครได้ขึ้นมาก่อเจดีย์ครอบพระสถูปเกศานั้นไว้ ส่วนพระเจดีย์แห่งที่ 2 ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ทางทิศเหนือของดอยคำ คือ พระธาตุดอยสุเทพ
การเดินทาง
เพียงขับลัดเลาะไปบริเวณด้านข้างของอุทยานพืชสวนโลก ขับไปเรื่อยๆจะเจอป้ายทางขึ้นวัดอยู่ทางฝั่งซ้ายมือ จากนั้นขับขึ้นไปเรื่อยๆ ตรงนี้ขอแนะนำให้รถที่จะขึ้นไปอยู่ในสภาพดีพอสมควร พอบางช่วงนั้นมีความชันมากกว่าทางขึ้นดอยสุเทพเสียอีก ดังนั้นจึงต้องเช็คสภาพรถให้พร้อมเสียก่อนเดินทาง
ทางขึ้นวัด จะมีป้ายบอกทางชัดเจน
สักการะพระประธานองค์ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล
จุดชมวิวบริเวณภายในวัด
วิวจากบริเวณจุดชมวิว สามารถมองเห็น "พืชสวนโลก"ได้อย่างชัดเจน
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน ภูเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ฤดูหนาวอากาศเย็น ลมแรง มีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 องศาเซลเซียส
สถานที่ที่มีผู้นิยมมาท่องเที่ยว ได้แก่
จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง อยู่บริเวณที่ทำการอุทยาน เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก มองเห็นดอยเชียงดาว คอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ได้ และในช่วงปลายฤดูหนาวดอกไม้กำลังบานสวยงามมาก
หมอกที่เกิดที่นี่คือ หมอกที่เกิดขึ้นในหุบเขา (Radiation Fog) เนื่องจากเวลากลางคืนในหุบเขาอุณหภูมิจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ และปรากฏเป็นทะเลหมอกในเวลาเช้าหรือหลังฝนตก
ใกล้ ๆ กับที่ทำการจะมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีระยะทาง 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง
การเดินทาง ไปยังอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ถึงตลาดแม่มาลัย อ.แม่แตง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 สายเชียงใหม่-ปาย อีกประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจอุทยานฯ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือเดินทางโดยรถประจำทางจากสถานีขนส่งเชียงใหม่ สายเชียงใหม่-ปาย อัตราค่าโดยสาร 40 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
ห้วยน้ำรู หรือ ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพสวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเชียงใหม่-ห้วยน้ำดัง และเลยเข้าไปทางห้วยน้ำดังอีก 20 กิโลเมตร ทางยังไม่ลาดยางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีบ้านพักแต่ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน ที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2579 7586-7
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกห้วยน้ำดัง โป่งน้ำร้อนท่าปาย น้ำตกแม่เย็น
ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานฯมีบ้านพักบริการ รวมทั้งสถานที่กางเต็นท์ ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. 0 5326 3910, 0 5354 8491, 0 5347 1669 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
อุทยานแห่งชาติจะทำการปิดลานกางเต็นท์ที่ 1-5 บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางเดินป่าล่องแพน้ำแม่แตง เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยช้าง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายนของทุกปี
ก่อนการเข้าไปท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ โดยดูได้จากเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช www.dnp.go.th และแนะนำนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติที่มี การกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ ให้ติดต่อสอบถามหรือสำรองการเข้าไปใช้บริการ ล่วงหน้าก่อนการเดินทางที่อุทยานแห่งชาติโดยตรงได้ที่ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5326 3910 ตลอด 24 ชั่วโมง และ 0 5324 8491 ระหว่าง 08.00-17.00 น.
ที่มา : http://www.เที่ยวเชียงใหม่.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87,1-1-109/
อาบลมห่มฟ้าที่ "ดอยอินทนนท์"
ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)
ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6
ที่มา : www.ดอยอินทนนท์.com
น้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี
วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสีอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง มีเนื้อที่ประมาณ 9,375 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2537
ทิศเหนือ : จดป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง
ทิศใต้ : จดป่าขุนแม่กวงและป่าสันทราย
ทิศตะวันออก : จดแนวเขตสวนป่าแม่หอพระ แปลงที่ 2518 (สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้)
ทิศตะวันตก : จดป่าสันทรายป่าแม่แตง
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง สลับกับหุบเขาและลำห้วย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 400-900 เมตร บริเวณน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี ลักษณะทั่วไปเป็นพื้นที่ราบและหุบเขาคล้ายกับกะทะ มีสภาพป่าสมบูรณ์และร่มรื่น มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณ มีจุดชมวิวที่สวยงาม ลำห้วยที่สำคัญคือห้วยแม่ป๋อน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พันธุ์ไม้ที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ขนาดโตและเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้สัก แดง ตะแบก ตีนนก เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ มะค่า ตะเคียน ส้าน ยอป่า กะบก ไม้พื้นล่างจะเป็นจำพวก เฟิร์น ว่าน กล้วยไม้ดิน และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามลำธารและน้ำตก
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี เป็น น้ำตกที่สวยงามตามธรรมชาติมี 3 ชั้น มีน้ำไหลเป็นลักษณะพิเศษเป็นธารหินปูน ต้นน้ำเกิดจากน้ำพุเจ็ดสี ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร น้ำตกมีความสูงประมาณ 100 เมตร มีความลาดชันประมาณ 50 องศา ลดหลั่นกันลงมา น้ำไสเป็นประกายมองผ่านจะมีสีเหมือนรุ้งกินน้ำ
การเดินทาง
รถ ยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ด ตามถนนสายเชียงใหม่ - อำเภอพร้าว ตรงหลักกิโลเมตรที่ 48 - 49 ก็จะมีทางแยกขวามือเข้าไปวนอุทยาน ฯ อีกประมาณ 2.6 กิโลเมตร ก็จะมีทางเลี้ยวขวาเข้าวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ดอยหลวงเชียงดาว
ดอยเชียงดาว สูงอันดับ 3 ของประเทศ แต่ต้องเดินขึ้นเท่านั้น อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ยอดสูงสุดของดอยเชียงดาว เรียกว่า ดอยหลวงเชียงดาว (เพี้ยนมาจากคำที่ชาวบ้านในละแวกเปรียบเทียบดอยนี้ว่าสูง เพียงดาว) มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนรูปกรวยคว่ำสูง 2,195 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นยอดดอยที่สูงอันดับ 3 ของประเทศรองจากดอยอินทนนท์และผ้าห่มปก จากบนยอดดอยซึ่งเป็นที่ราบแคบๆ สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามรอบด้าน คือ ทะเลหมอกด้านอำเภอเชียงดาว ดอยสามพี่น้อง เทือกดอยเชียงดาว ตลอดจนถึงยอดดอยอินทนนท์อันไกลลิบอากาศเย็น ลมแรง และสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่าภูเขาที่หาชมได้ยากมากมายรวมทั้งนกและผีเสื้อด้วย (ไม่เหมาะที่จะขึ้นไปยืนบนยอดดอยทีละกลุ่มใหญ่ๆ เพราะจะไปเหยีบย่ำทำลายพรรณไม้บนนั้นได้แม้จะโดยไม่ตั้งใจก็ตาม)
การเข้าไปใช้พื้นที่ต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ ป่า กรมป่าไม้ อย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการเดินทาง รายละเอียด โทร. 0 2561 2947
การเดินทางสู่ยอดดอยเชียงดาวเริ่มที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถติดต่อคนนำทาง ลูกหาบ รวมทั้งรถไปส่งที่จุดเริ่มเดินได้ โดยค่าเช่ารถประมาณ 900 บาท ค่าจ้างลูกหาบประมาณวันละ 300 บาทต่อลูกหาบหนึ่งคน บนดอยเชียงดาวไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวไปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน อาหาร และน้ำ ส่วนเส้นทางลงนิยมใช้ทางสายบ้านถ้ำซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำเชียงดาว เพราะมีทางสูงชันสามารถลงได้รวดเร็วกว่าแต่ไม่เหมาะกับการขึ้น
ดอยอ่างขาง ชมดอกซากุระเมืองไทย
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน สภาพอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่ประมาณ 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
ดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมายเช่น สถานนีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, ,หมู่บ้านขอบดัง และ หมู่บ้านนอแล
ข้อมูลดอยอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ตั้งขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้้ เสด็จผ่านบริเวณบริเวณดอยอ่างขางทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่ อาศัยอยู่บริเวณนทำการปลูกฝิ่น แต่ยัง ยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความ เสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็นมีการปลูกฝิ่นมากไม่ มี ป่าไม้อยู่ เลยและ สภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนักประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จาก การปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลอง วิธี ติดตาต่ิอกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1500 บาท เพื่อซื้อ ที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็น สถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่าง แก่เกษตรกรชาวเขาในการ นำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูก ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนาม ว่า สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขางอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,400 เมตร คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของ ดอยอ่างขางซึ่ง เป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิม เป็นเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆ ละลายเป็น โพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีพื้นที่ใช้ ทำ การเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม
6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วย ประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซล เซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด–3 องศาเซเซียสในเดือนมกราคม ซึ่งหากมาเที่ยวในช่วงดังกล่าวอาจพบกับ แม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็งได้
โจ๊กสมเพชร ร้านโจ๊กดีๆที่ที่เปิด 24 ชั่วโมง
ถ้าเกิดมาเที่ยวที่เชียงใหม่ แล้วเกิดหิวขึ้นมาตอนดึกดื่นเที่ยงคืน ครั้นจะไปหาของกินที่เซเว่น ก็เบื่อ ไอ้ข้าวกล่องเวฟก็น่าเบื่อ ขอให้เป็นตัวเลือกสุดท้าย ที่ถ้าถึงคราวคับขัน หาอะไรกินไม่ได้แล้วจริงๆก็ค่อยกลับมาหาของตายล่ะกัน วันนี้เรามีร้านอาหารอร่อยๆที่เปิดให้บริการถึง 24 ชั่วโมง คือเรียกได้ว่าตราบใดที่เซเว่นยังไม่ปิด ร้านนี้ก็ไม่ปิดเหมือนกัน และร้านที่ผมกำลังพูดถึงนั่นก็คือ "ร้านโจ๊กสมเพชร" นั่นเอง
ร้านจะอยู่บนถนนศรีภูมิ ภายในคูเมืองเก่า ถ้ามาจากประตูท่าแพวนซ้าย ผ่านแจ่งศรีภูมิมานิดนึง ถึงแยกถนนราชภาคินัย ก็จะเจอร้านโจ๊กสมเพชรอยู่ซ้ายมือ เป็นร้านเก่าแก่เปิดมานานกว่า 30 ปี นอกจากโจ๊กก็ยังมีอาหารอื่นๆ ขายด้วย ได้แก่ ข้าวต้ม ราดหน้า ติ่มซำ เมนูข้าวต่างๆ ขนม กาแฟสด เป็นร้านโจ๊กที่เปิดขาย 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ติ่มซำที่นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อครับ ถ้าเทียบกับราคาแล้วผมก็ก็สมน้ำสมเนื้อนะครับ เคยไปกินบางเจ้า ราคาถูกจริง แต่ไม่มีความอร่อย พูดง่ายๆว่าเสียดายเงินมากกว่ากินติ่มซำที่นี่ครับ
อีกเมนูที่ไม่อยากให้พลาดอีกเหมือนกันนั่นก็คือ "ข้าวไก่อบ" ที่ถือว่าเด็ดไม่แพ้โจ๊กเหมือนกัน เรียกได้ว่าใครไม่ได้ลองกิน เหมือนมาไม่ถึงโจ๊กสมเพชร ขออนุญาติใช้คำของรายการ "ครัวคุณต๋อย" ที่บอกว่า ใครไม่กิน ถือว่าผิด !!!
ร้านจะอยู่บนถนนศรีภูมิ ภายในคูเมืองเก่า ถ้ามาจากประตูท่าแพวนซ้าย ผ่านแจ่งศรีภูมิมานิดนึง ถึงแยกถนนราชภาคินัย ก็จะเจอร้านโจ๊กสมเพชรอยู่ซ้ายมือ เป็นร้านเก่าแก่เปิดมานานกว่า 30 ปี นอกจากโจ๊กก็ยังมีอาหารอื่นๆ ขายด้วย ได้แก่ ข้าวต้ม ราดหน้า ติ่มซำ เมนูข้าวต่างๆ ขนม กาแฟสด เป็นร้านโจ๊กที่เปิดขาย 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ติ่มซำที่นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อครับ ถ้าเทียบกับราคาแล้วผมก็ก็สมน้ำสมเนื้อนะครับ เคยไปกินบางเจ้า ราคาถูกจริง แต่ไม่มีความอร่อย พูดง่ายๆว่าเสียดายเงินมากกว่ากินติ่มซำที่นี่ครับ
อีกเมนูที่ไม่อยากให้พลาดอีกเหมือนกันนั่นก็คือ "ข้าวไก่อบ" ที่ถือว่าเด็ดไม่แพ้โจ๊กเหมือนกัน เรียกได้ว่าใครไม่ได้ลองกิน เหมือนมาไม่ถึงโจ๊กสมเพชร ขออนุญาติใช้คำของรายการ "ครัวคุณต๋อย" ที่บอกว่า ใครไม่กิน ถือว่าผิด !!!